5 สุดยอดอาหารใกล้ตัว ช่วยบำรุงข้อเข่า

ในหมู่ผู้สูงอายุคงหนีไม่พ้น “โรคข้อเข่าเสื่อม” และ “กระดูกพรุน” ซึ่งกระดูกของเราจะเริ่มเสื่อมและบางลงเมื่ออายุมากขึ้น เนื่องจากมีการสูญเสียแคลเซียมที่สะสมในกระดูก โดยโรคดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด แต่จะทำให้กระดูกแตกหรือหักง่ายขึ้น

ในวันนี้ เข่าเสื่อม.net มีสาระน่ารู้ เกี่ยวกับอาหารที่อยู่ใกล้ๆ ตัวเรา ที่สามารถช่วยป้องกันการเกิด “โรคข้อเข่าเสื่อม” และ “กระดูกพรุน” มาฝากกัน

อาหารบํารุงข้อเข่าเสื่อม,ข้อเข่าเสื่อม กินอะไรดี,ข้อเข่าเสื่อม อาหารเสริม,
1. ปลา ปลาถือเป็นหนึ่งในแหล่งของแคลเซียมชั้นยอด โดยเฉพาะปลาแซลมอนและปลาซาร์ดีน เนื่องจากกระดูกของปลาทั้งสองชนิดนี้มีขนาดเล็ก จึงทำให้สามารถทาน และเคี้ยวได้ ซึ่งกระดูกของปลาดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นแหล่งของแคลเซียมชั้นเยี่ยมเลยทีเดียว โดยแคลเซียมจะช่วยเสริมสร้างบำรุงกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยรักษามวลของกระดูกอีกด้วย

กระดูกพรุน, ยาเพิ่มน้ําในข้อเข่า, อาหารเสริมบํารุงข้อเข่าเสื่อม, อาหารบํารุงข้อเข่าเสื่อม,
2. นม อาหารบำรุงกระดูกอันดับต้นๆ ที่คนนึกถึงก็คือน้ำนม เพราะแคลเซียมในนมนั้นเป็นแคลเซียมที่สามารถดูดซึมได้และยังเป็นอาหารที่หาดื่มได้ง่าย การดื่มนมเป็นประจำจึงช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้

เข่าเสื่อม กินอะไรดี, อาหารเสริมบํารุงข้อเข่าเสื่อม ยี่ห้อไหนดี, วิตามินเพิ่มน้ำในข้อ,
3. โยเกิร์ต เป็นผลิตภัณฑ์จากนมที่ช่วยเสริมสร้างให้กระดูกมีความแข็งแรง และป้องกันโรคกระดูกเสื่อมได้ เพราะนอกจากมีแคลเซียมแล้ว ยังอุดมไปด้วยวิตามินดี ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ซึ่งล้วนแต่เป็นแร่ธาตุที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้กระดูกมีความแข็งแรง

แคลเซี่ยมบํารุงกระดูก, ยาเพิ่ม น้ํา ในข้อเข่า, อาหารบํารุงกระดูก, ผลไม้บํารุงกระดูกและฟัน,
4. กล้วย เป็นอาหารที่สามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม กระดูกเสื่อมได้ เนื่องจากกล้วยอุดมไปด้วย วิตามินเอ วิตามินซี วิตามินอี เหล็ก แมกนีเซียม และ โปแตสเซียม ซึ่งจะช่วยควบคุมการเจริญเติบโตของโครงสร้างกระดูก

บํารุงน้ำในข้อเข่า, อาหารบำรุงข้อ
5. ถั่วอัลมอนด์ เป็นแหล่งของวิตามินอี แมงกานีส ไบโอติน ไบโอฟลาวิน และคอปเปอร์ ซึ่งสารอาหารเหล่านี้มีส่วนช่วยในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมวลของกระดูกอีกด้วย ซึ่งถั่วอัลมอนด์เหมาะสำหรับผู้ป่วยโรคกระดูกพรุนเป็นอย่างยิ่ง

นอกจากควรทานอาหารที่อุดมด้วยแคลเซียมแล้ว ยังควรทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวอย่างเช่น ส้ม เนื่องจากมีงานวิจัยสนับสนุนว่า วิตามินซี และ สารแอนติออกซิแดนต์ในส้ม หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมได้ การกินผักและผลไม้ที่มีสีสันหลากหลาย เช่น มะเขือเทศสีแดง กะหล่ำปลีสีม่วง แครอทสีส้ม ฟักทองและข้าวโพดสีเหลือง ผักใบเขียวชนิดต่างๆ ก็สำคัญไม่แพ้กัน เพราะในผักและผลไม้เหล่านี้ อุดมไปด้วยเส้นใย ซึ่งมีสารอาหารบํารุงข้อได้เช่นกัน และควรลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะสารกาเฟอีนในกาแฟจะทําให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ ส่งผลให้ระดับแคลเซียมในร่างกายเสียสมดุล จึงเกิดการสลายแคลเซียมในกระดูกมาใช้แทน ในขณะเดียวกันยังมีการศึกษาพบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนปริมาณมากเกินไปจะทําให้มวลกระดูกบางลง

เพียงเท่านี้ก็สามารถยืดอายุข้อต่อทั่วร่างกายของเราให้คงประสิทธิภาพไว้ได้นานแสนนาน

11 คำถาม ที่จะทำให้รู้ว่า คุณกำลังมีความเสี่ยงเป็นโรค “ข้อเสื่อม” อยู่หรือไม่?

อาการ ข้อเสื่อม ข้ออักเสบ

วันนี้ เข่าเสื่อม.net มีแบบทดสอบง่ายๆ ที่จะทำให้รู้ว่า คุณกำลังมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค “ข้อเสื่อมอยู่หรือไม่มาให้ลองทำกัน ก่อนที่จะอ่านเนื้อหาด้านล่างค่ะ ถ้าทุกคนพร้อมแล้ว ก็ไปตอบคำถามกันเลย สำหรับใครที่ตอบว่าใช่มากกว่า 3 ข้อ ก็เตรียมอ่านต่อได้เลยนะคะ เพราะคุณอาจกำลังเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเสื่อมได้

  1. มีอาการปวดข้อมานานเกิน 1 เดือนครึ่ง (6 สัปดาห์)
  2. อาการปวด เริ่มมาจากการปวดเป็นข้อๆ เพียง 1 – 2 ข้อก่อน เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเข่าฯลฯ
  3. ระดับความปวด อยู่ที่น้อย ถึง ปานกลาง และอาจมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อต้องลงน้ำหนักที่บริเวณนั้น หรือใช้งานบริเวณนั้น
  4. อาการปวดจะน้อยลง หรือดีขึ้น เมื่อได้พักส่วนนั้นๆ
  5. ค่อยๆ ปวดในบริเวณนั้นๆ เริ่มจากน้อยๆ ก่อน แล้วค่อยๆ ปวดมากขึ้นช้าๆ ไม่ได้ปวดแบบกะทันหัน
  6. จะรู้สึกข้อฝืดตึงในตอนเช้า แต่จะมีอาการอยู่ไม่นาน (ไม่เกิน 30 นาที)
  7. มีอาการขาอ่อนแรง หรือเข่าพับ ขณะเดินๆ อยู่ดีๆ
  8. มีอาการบวมร่วมด้วยเล็กน้อย บริเวณรอบๆ ข้อ ที่มีอาการปวด
  9. ปวดส่วนไหน ข้อบริเวณส่วนนั้นจะไม่สามารถยืดตึงได้สุด เช่น กางแขน หรือ กางขา ได้ไม่สุด หากมีอาการปวดข้อศอก หรือข้อเข่า
  10. มีเสียงดังกรอบแกรบเมื่อขยับอวัยวะนั้นๆ
  11. ข้อนิ้วแข็ง และ โตขึ้น ถอดหรือสวมแหวนได้ลำบาก

หากใครที่ตอบว่า “ใช่” เกิน 3 ข้อขึ้นไป นั่นแสดงว่าคุณกำลังเสี่ยงที่จะเป็นโรคข้อเสื่อม หรืออักเสบ ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจโดยละเอียดอีกครั้ง

ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคข้อเสื่อม

– ผู้สูงอายุไม่ว่าจะเป็นชาย หรือหญิง อายุระหว่าง 50 – 60 ปี หรืออาจมีอายุน้อยกว่านี้ก็ได้ (โดยพบว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นข้อเสื่อมมากกว่า)
– ผู้ที่มีโครงสร้างทางร่างกาย หรือข้อต่างๆ ผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด หรือหลังจากได้รับอุบัติเหตุรุนแรง
– ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินค่ามาตรฐาน
– ผู้ที่มีกล้ามเนื้อต้นขาไม่แข็งแรง
– ผู้ที่ใช้งานร่างกายอย่างหักโหม

4 วิธีลดความเสี่ยงในการเป็นโรคข้อเสื่อม

  1. สร้างกล้ามเนื้อในร่างกายให้แข็งแรงด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  2. ควบคุมน้ำหนักให้พอดี ไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน
  3. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ และเสริมสร้างกระดูกด้วยอาหารที่มีแคลเซียม และ วิตามิน D เช่น นม, ปลาเล็กปลาน้อย, ผักใบเขียว
  4. หากมีอาการปวดตามข้อบ่อยๆ หรือนานๆ ควรรีบไปพบแพทย์ก่อนที่อาการจะรุนแรงขึ้น

ในปัจจุบัน ผู้ที่เป็นโรคข้อเข่าเสื่อมเริ่มมีอายุน้อยลงทุกที ไม่ได้จำกัดแค่ผู้สูงอายุอีกต่อไป เนื่องจากอาหารที่รับประทานเข้าไป อาจไม่มีประโยชน์หรือมีสารอาหารที่ดีพอ น้ำหนักตัวที่มากเกินมาตรฐาน รวมถึงในบางคนที่มีความผิดปกติทางร่างกายที่อาจทำให้กระดูกไม่แข็งแรงเท่าที่ควร ล้วนมีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้มากกว่าคนอื่น แต่อย่างไรก็ตาม การหมั่นสังเกตตัวเอง และปรึกษาแพทย์เมื่อมีอาการข้างต้น จะเป็นวิธีที่ดีที่สุดค่ะ

ขอขอบคุณ
ข้อมูล : http://www.amarinpocketbook.com/Book_Detail.aspx?BID=6251
ภาพ : https://health.mthai.com/howto/health-care/16009.html
เรียบเรียง : ลองกานอยด์

6 ประเภท อาหารบำรุงข้อ ต้านภัยข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม

อาหารบำรุงข้อ สำคัญอย่างไร เมื่อพูดถึงเรื่องอาหารการกิน ล้วนส่งผลดีและผลเสียต่อข้อได้ หากทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์จะยิ่งเร่งให้ข้อเสื่อมได้เร็วยิ่งขึ้น ดังนั้นเรามาดูกันว่า ควรทาน อาหารบำรุงข้อ อย่างไรเพื่อให้ข้อแข็งแรง

  1. ควรทานอาหารที่อุดมไปด้วยแคลเซียมเพราะแร่ธาตุชนิดนี้ช่วยสร้างความแข็งแรงให้กระดูกและลดความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน อาหารที่เป็นแหล่งแคลเซียมที่สำคัญ ได้แก่ เนยแข็ง โยเกิร์ต แต่ควรเลือกชนิดไขมันต่ํา ผักสีเขียว คะน้า บรอกโคลี ปลาเล็กปลาน้อยที่เคี้ยวทั้งกระดูกได้ ปลาเค็ม เต้าหู้ งาดํา
  2. ทานส้มหรือผลไม้รสเปรี้ยวแทนขนมจะดีต่อสุขภาพข้อมากกว่าเนื่องจากมีงานวิจัยสนับสนุนว่า วิตามินซีและสารแอนตี้ออกซิแดนท์ (antioxidant) ในส้ม หรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยวจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคข้อเสื่อมได้
  3. เพิ่มสีสันให้อาหารของคุณทานผักและผลไม้ที่มีสีสันหลากหลาย เช่น แครอตสีส้ม  มะเขือเทศสีแดง ฟักทองและข้าวโพดสีเหลือง กะหล่ําปลีสีม่วง ผักใบเขียวชนิดต่างๆ เพราะในผักและผลไม้เหล่านี้อุดมไปด้วยเส้นใยอาหาร สารแอนตี้ออกซิแดนท์ (antioxidant) ซึ่งเป็นสารอาหารบํารุงข้อ
  4. ทานปลาทะเลน้ําลึกอย่างน้อย 2-3ครั้ง/สัปดาห์โดยเฉพาะปลาแมคเคอเรล และ ปลาแซลมอน เพราะมีกรดไขมันโอเมก้า-3 (Omega 3) สูง จากงานวิจัยพบว่า สารอาหารชนิดนี้สามารถช่วยให้ข้อแข็งแรงและลดอาการปวดและอักเสบในผู้ป่วยที่เป็นโรคข้ออักเสบได้ โดยหลีกเลี่ยงการปรุงด้วยวิธีผัดหรือทอด แนะนําให้ใช้วิธีนึ่งหรือย่างแทนเพื่อลดปริมาณแคลอรีจากน้ํามัน
  5. ลดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (Caffeine)คุณอาจต้องการเพิ่มพลังหรือปลุกตัวเองให้ตื่นในตอนเช้าด้วยกาแฟหอมกรุ่น แต่ควรงดกาแฟแก้วที่ 2 และ 3 ระหว่างวันลง เพราะสารคาเฟอีนในกาแฟจะทําให้ร่างกายขับแคลเซียมออกมาทางปัสสาวะ ส่งผลให้ระดับแคลเซียมในร่างกายเสียสมดุล จึงเกิดการสลายแคลเซียมในกระดูกมาใช้แทน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาพบว่า การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนในปริมาณมากเกินไปจะทําให้มวลกระดูกบางลง
  6. ทานอาหารให้หลากหลายเพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินครบถ้วนหากทําไม่ได้ อาจทานวิตามินรวมเสริม ซึ่งการทานวิตามินรวมจะทําให้คุณได้รับวิตามินและแร่ธาตุที่ขาดไป เช่น วิตามินซีช่วยซ่อมแซมเนื้อเยื่อ วิตามินเค และ แคลเซียม มีส่วนช่วยในการสร้างกระดูก วิตามินอี และ กรดโฟลิก(Folic acid) ช่วยบํารุงกล้ามเนื้อรอบๆ ข้อ

เพียงเท่านี้ก็สามารถยืดอายุข้อต่อทั่วร่างกายของเราให้คงประสิทธิภาพไว้ให้นานแสนนาน

หัวข้อที่เกี่ยวข้อง : เซ็นโทร (Centro) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สำหรับบำรุงข้อเข่า

ข้อมูลจาก : นิตยสารชีวจิต ฉบับที่ 389
ภาพ :  daily.bangkokbiznews.com
เรียบเรียง : เซ็นโทร (Centro)

 

 

สารสกัดเมล็ดลำไย ทางเลือกใหม่สำหรับผู้ป่วยเข่าเสื่อม

ปัญหาโรคข้อเข่าอักเสบ ข้อเข่าเสื่อม เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงวัย และเป็นปัญหาที่พบทั่วโลก ยาที่รักษาเป็นเพียงยาบรรเทา และทำให้เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ฯลฯ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมียากลุ่มที่เป็นอันตรายต่อร่างกายน้อยที่สุด แต่ก็มีต้นทุนสูงเพราะเป็นวัตถุดิบที่นำเข้า

ผลลำไยเป็นผลไม้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี ผู้บริโภคมักใช้ประโยชน์จากเนื้อของลำไย ส่วนเมล็ดมักจะเป็นของเหลือทิ้งไม่ถูกนำมาใช้ประโยชน์ใดๆ เมื่อมีงานวิจัยเมล็ดลำไยเกิดขึ้นจึงทราบว่า สารสกัดจากเมล็ดลำไยช่วยให้โรคข้ออักเสบ ข้อเสื่อม ที่เป็นปัญหาที่พบบ่อยในผู้สูงวัยมีอาการดีขึ้นได้

ผลิตภัณฑ์จากงานวิจัยนี้เป็นครีมสำหรับนวดร่างกายที่มีส่วนผสมสารสกัดจากเมล็ดลำไย เป็นการพัฒนางานวิจัยเมล็ดลำไยเพื่อผู้บริโภค เหมาะสำหรับ โรคข้อเข่าอักเสบ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหาโรคดังกล่าวมีอาการดีขึ้น ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายผู้บริโภค มีต้นทุนต่ำ ผู้บริโภคจึงต้องมิต้องสิ้นเปลืองเงินเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้เกษตรกรอีกด้วย

ที่มา : งานสัมมนาทางวิชาการ คณะการแพทย์แผนตะวันออก
ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ และกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทย และการแพทย์ทางเลือก

ขอขอบคุณข้อมูลจากเวบไซต์ :  http://ลองกานอยด์.com

บทสัมภาษณ์ เคล็ดลับความแข็งแรง ของ “สมบัติ เมทะนี” พระเอกตลอดกาล วัย 75 ปี

ลองกานอยด์

บริหารกล้ามเนื้อ

นวดบริเวณรอบหัวเข่าเพื่อช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง อันจะช่วยให้เคลื่อนไหวและทรงตัวดีขึ้น

ออกกำลังกาย

ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ไม่ต้องลงน้ำหนักบนหัวเข่ามากเช่น ว่ายน้ำ ขี่จักรยาน เต้นลีลาศ โยคะ

ลดน้ำหนัก

ควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักผลไม้และอาหารที่มีแคลเซียมสูง

ท่านั่ง

ควรนั่งเก้าอี้ที่สูงระดับเข่า ไม่ควรนั่งพับเพียบ หรือนั่งขัดสมาธิ เลี่ยงการคุกเข่าเป็นเวลานานๆ

การนอน

หลีกเลี่ยงการนอนที่อยู่ในท่างอเข่าเป็นเวลานานๆ ควรนอนบนเตียงซึ่งมีความสูงระดับเข่า

รักษาสมดุลร่างกาย

หลีกเลี่ยงการยืนหรือนั่งในท่าเดียวนานๆ ควรปรับเปลี่ยนท่าบ่อยๆ หรือเหยียด-งอข้อเข่าบ่อยๆ

การยืน

ควรยืนตรง ขากางออกเล็กน้อย ให้น้ำหนักตัวลงบนขาทั้งสองข้างเท่าๆกัน ไม่ควรยืนเอียงให้น้ำหนักลงไปที่ข้างใดข้างหนึ่ง

การเดิน

ไม่ควรเดินบนพื้นที่ไม่เสมอกัน เช่น บันได ทางลาดเอียง ที่ชันมาก เพราะทำให้น้ำหนักตัวทิ้งลงบนหัวเข่าเพิ่มขึ้นมากและอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุหกล้มได้ง่าย

ควรใส่รองเท้าแบบมีส้นเตี้ย

(สูงไม่เกิน 1 นิ้ว) หรือไม่มีส้น รองเท้าควรมีพื้นนุ่มและมีขนาดพอเหมาะ เวลาสวมรองเท้าเดินแล้วรู้สึกสบาย กระชับพอดี

เวลาเข้าห้องน้ำ

ควรนั่งถ่ายบนโถนั่งชักโครก ไม่ควรนั่งยองๆ

แพทย์ทางเลือก

ปัจจุบันมีการวิจัยและค้นพบว่า นวัตกรรมธรรมชาติบำบัดจากสารสกัดเมล็ดลำไย เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ เพราะมีความปลอดภัย และไม่มีผลข้างเคียง ที่สำคัญมีความปลอดภัยและมีผลกระทบต่อสุขภาพน้อยที่สุด

 

โรคข้อเข่าเสื่อมคืออะไร ?

โรคข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่ข้อเข่า ซึ่งผ่านการใช้งานมาเป็นเวลานาน เกิดการเสื่อมสภาพไป ของผิวข้อและโครงสร้างต่างๆ ของข้อที่ทำให้เกิดอาการเจ็บปวดขณะเดิน หรือพบว่ามีการผิดรูปไปของข้อเข่า มักพบในผู้สูงอายุ คนทำงานที่ต้องใช้แรง นักกีฬาที่ประสบอุบัติเหตุ ส่งผลให้คุณภาพการใช้ชีวิตลดลง

เข่าเสื่อม

เนื่องจากเข่าเป็นข้อที่ใหญ่ที่สำคัญ และรองรับน้ำหนักส่วนใหญ่ของร่างกาย จึงต้องทำงานมากและต่อเนื่อง ทำให้กระดูกอ่อนผิวข้อซึ่งเป็นเสมือนเบาะรองรับน้ำหนักในข้อ เกิดการเสียคุณสมบัติไป เกิดการยุบตัว และมีความยืดหยุ่นน้อยลง จึงทำให้เกิดการเสียดสีของตัวกระดูกในขณะเคลื่อนไหวมากขึ้น ส่งผลให้มีการสึกกร่อน ผิวข้อบางลงและไม่เรียบ บางครั้งอาจมีเสียงดังในข้อ และมีอาการเจ็บปวดเมื่อใช้งาน หรือในบางครั้งหากมีการอักเสบมาก ก็จะเกิดมีน้ำเหลือง

ปัจจัยสำคัญพื้นฐานที่นำไปสู่อาการข้อเข่าเสื่อม

  1. ลักษณะการใช้งานข้อเข่า ที่ไม่ถูกต้อง เช่น ใช้งานข้อเข่าอย่างหนัก และต่อเนื่อง หรือใช้งานเข่าในลักษณะทีไม่เหมาะสมเช่น นั่งยองๆ นั่งขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพีบนานๆ ทำให้เกิดแรงกดต่อข้อเข่าสูง
  2. น้ำหนักตัวที่ไม่เหมาะสม ยิ่งน้ำหนักตัวมาก ก็จะมีแรงกดที่ข้อเข่าสูง
  3. ครงสร้างพยุงข้อเข่า เช่นกล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เสียสภาพไป ซึ่งอาจเป็นได้จากการขาดการบริหาร หรือออกกำลังกายต่อเนื่อง หรือได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า ไม่ว่ากระดูกข้อเข่าแตก หรือ เอ็นฉีก

ปัจจัยสามอย่างนี้ เป็นตัวกำหนดความรุนแรงและอัตราเร่งของการเสียสภาพของข้อเข่าที่สำคัญ ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการดูแลควบคู่ไปกับการรักษาอาการที่เกิดขึ้น

อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม

  • ปวดเข่า เมื่อมีการเคลื่อนไหว
  • ลุกนั่งหรือเดินขึ้นลง บันไดไม่คล่อง
  • มีเสียงดังในข้อเวลาเคลื่อนไหว
  • ข้อเข่าบวม อักเสบ
  • ข้อเข่าโก่งงอ ผิดรูป
  • ข้อเข่ายึดติดไม่สามารถเหยีดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิม

ขอขอบคุณข้อมูลจาก  : betterbeingthailand.com
ภาพประกอบจาก :  thaiclinic.com

โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of Knee)

เข่าเสื่อม
ภาพประกอบจาก topnews.in

โรคข้อเข่าเสื่อม หรือ Osteoarthritis of Knee

คือโรคที่เกิดจากความเสื่อมในข้อ ตําแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในโรคนี้คือที่กระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) ในข้อชนิดที่มีเยื่อบุ (diarthrodial joint) โดยจะพบมีการทําลายกระดูกอ่อนผิวข้อเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่องมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป กระดูกอ่อนผิวข้อมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ชีวเคมี (biochemical) ชีวกลศาสตร์ (biomechanical) และโครงสร้าง (biomorphology) ส่วนกระดูกในบริเวณใกล้เคียงก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น ขอบของกระดูกในข้อ (subchondral bone) มีการหนาตัวขึ้น โรคนี้ส่วนใหญ่พบในสูงอายุ มีลักษณะทางคลินิกที่สําคัญคือ ปวดข้อ ข้อฝืด มีป่มกระดูกงอกบริเวณข้อ การทํางานของข้อเสียไป การเคลื่อนไหวของข้อลดลง หากกระบวนการดําเนินต่อไปจะมีผลทําให้เกิดข้อผิดรูปและความพิการในที่สุด

อาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม

  • อาการปวด มีลักษณะปวดตื้อ ๆ ทั่ว ๆ ไปบริเวณข้อ ไม่สามารถระบุตําแหน่งชัดเจนได้และมักปวดเรื้อรัง อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน หรือลงนํ้าหนักลงบนข้อนั้น ๆ และจะทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน เมื่อการดําเนินโรครุนแรงขึ้นอาจทําให้มีอาการปวดตลอดเวลา หรือปวดในช่วงเวลากลางคืนร่วมด้วย
  • ข้อฝืด (stiffness) พบได้บ่อย จะมีการฝืดของข้อในช่วงเช้าและหลังจากพักข้อนาน ๆ แต่มักไม่เกิน 30 นาทีอาจพบอาการฝืดที่เกิดขึ้นชั่วคราวในท่างอหรือเหยียดข้อในช่วงแรกที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ข้อฝืด (gelling phenomenon)
  • ข้อบวมและผิดรูป (swelling and deformity) อาจพบข้อขาโก่ง (bowlegs) หรือข้อเข่าฉิ่ง (Knock knee) ข้อที่บวมเป็นการบวมจากกระดูกงอกโปนบริเวณข้อ สญเสีย การเคลื่อนไหวและการทํางาน ผู้ป่วยมีอาการเดินไม่สะดวก มีเสียงดังกรอบแกรบ (crepitus) ในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. ความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
  2. น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้เข่ารับน้ำหนักมากขึ้น
  3. อายุที่มากขึ้นทำให้ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของผิวข้อกระดูกอ่อนลดลง ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมง่ายขึ้น
  4. เพศหญิง ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสที่จะเกิดข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย
  5. มีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน รวมถึงได้รับบาดเจ็บการการเล่นกีฬา เช่น หมอน รองกระดูกเข่าฉีกขาด
  6. เล่นกีฬาที่มีแรงกระทบต่อเข่ามากๆ เช่น ฟุตบอล, เทนนิส, วิ่งมาราธอน

วิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่นการลดน้ำหนัก ใช้เครื่องพยุงเข่า หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบและนั่งท่าขัดสมาธิ
  2. การใช้ยา เช่นยาลดปวด และลดการอักเสบภายในข้อเข่า, ยากลูโคซามีน เพื่อเสริมสร้างกระดูกอ่อน ยับยั้งหรือลดกระบวนการทำลายข้อ (ควรอยู่ในการควบคุมและดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด)
  3. การบริหารเข่าโดยนักกายภาพบำบัด
  4. การฉีดยาเข้าข้อเข่า เช่นสารน้ำหล่อเลี้ยง, ยาสเตียรอยด์ อย่างไรก็ตามการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อกระดูกอ่อนของผิวข้อโดยตรง
  5. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หรือการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องล้างข้อเข่า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ขอขอบคุณข้อมูลจากสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย

ลองกานอยด์ นวัตกรรมต้านเข่าเสื่อม

เข่าเสื่อมความทุกข์ทรมาน และความรำคาญใจจากการเคลื่อนไหวที่ติดขัดในผู้สูงอายุ มักมี สาเหตุจากโรคข้อเข่าเสื่อมเป็นอันดับต้นๆ โชคดีที่ตอนนี้มีนวัตกรรมธรรมชาติบำบัดที่ช่วยบรรเทาอาการข้อเข่าเสื่อมได้แล้ว คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุคงจะดีขึ้นมากทีเดียว

ปัจจัยพื้นฐานที่ทำให้ข้อเข่าเสื่อมก็เนื่องมาจากข้อเข่าถูกใช้งานมานาน ดังนั้นเมื่อวัยมากขึ้น ข้อเข่าก็มีโอกาสเสื่อมสูงขึ้นตามไปด้วย แต่พฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่ไม่เหมาะสมจนน้ำหนักตัวมากเกินไปจะกลายเป็นภาระหนักของหัวเข่า หรือการออกกำลังกายที่ไม่ถูกต้องก็ทำให้คนทำงานที่อยู่ในวัย 30 กว่า มีอาการข้อเข่าเสื่อมได้เช่นเดียวกัน นอกจากนี้การติดเชื้อในข้อ อาการข้อเข่าอักเสบจากรูมาตอยด์ หรืออุบัติเหตุ ก็ทำให้ข้อเสื่อมเร็วกว่าปกติ

สัญญาณเริ่มแรกของอาการข้อเข่าเสื่อมที่สามารถสังเกตได้ง่ายๆ เช่น เสียงกรอบแกรบ ในเข่า เสียงลั่นคล้ายกระดูกเสียดสีกัน อาการข้อติด ขยับไม่ออกเมื่อนั้งขัดสมาธิหรือ นั่งพับเพียบนานๆ อาการปวดเข่าแม้ว่าจะเดินในระยะใกล้ๆ นอกจากนี้อาการข้อเข่าเสื่อมยังอาจจะทำให้โรคเรื้อรังอื่นๆ ที่ผู้สูงอายุเป็นอยู่อย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง กำเริบ เนื่องจากออกกำลังกายไม่ได้เพราะเจ็บเข่า และหากข้อเข่าเสื่อมมีอาการรุนแรง ก็อาจจะทำให้ข้อเข่าคดงอและผิดรูปได้

วิธีการรักษาข้อเข่าเสื่อมก็มักจะเริ่มจากการรับประทานยาแก้ปวด ยาลดอักเสบ ยาเสริมสร้างกระดูกอ่อน หรือการฉีดยาเข้าข้อเพื่อแก้ปวด ซึ่งมักเป็นยาสเตียรอยด์ที่มีผลข้าง เคียงตามมามากมาย ส่วนคนที่มีอาการมากๆ มักเลือกวิธีการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งเป็นการรักษาที่คืนชีวิตใหม่ให้กับผู้ป่วยได้มากมาย แต่ก็ไม่เหมาะกับทุกคน เพราะนอกจากค่าใช้จ่ายที่สูงแล้ว การผ่าตัดยังอาจมีผลเสียกับผู้ป่วยบางกลุ่ม เช่น การใช้ยาสลบ หรือยาชา อาจจะเกิดผลกระทบกับระบบต่างๆ ของผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดัน ไต เบาหวาน ไทรอยด์ ขณะที่ผู้ป่วยที่มีกระดูกขนาดเล็กกว่าคนปกติ และผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน 80 กิโลกรัม ก็มีโอกาสที่จะเสียงกับภาวะแทรกซ้อนหลายอย่าง เช่น การติดเชื้อของ แผลผ่าตัด เกิดภาวะข้อเทียมหลุดหลวมจากการขยับ หรือทำกิจรรมต่างๆ อาการกระดูก หักบริเวณรอบข้อเทียม ข้อเทียมชำรุดหรือหัก เมื่อมีการกระทบอย่างรุนแรง เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้ ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมจำนวนไม่น้อยจึงพยายามหาทางเลือกในการรักษาอื่นๆ ขณะที่นักวิชาการและนักวิจัยก็มุ่งค้นหาวิธีการรักษาที่ปลอดภัยและมีผลกระทบกับสุขภาพน้อยที่สุด และในที่สุดคณะนักวิจัยจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดย ศ.ดร.อุษณีย์ วินิจเขตคำนวณ ซึ่งได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยเกษตร (องค์การมหาชน) สวก. ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ได้ ค้นพบว่าในเม็ดลำไยอุดมไปด้วยสารโพลีฟีนอลและฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติต่อต้านอนุมูลอิสระ และมีฤทธิ์ต้านการสลายกระดูกที่ข้อได้ดีด้วย จึงได้ทำการวิจัยจนได้สารสกัดจากเม็ดลำไยอบแห้ง ซึ่งมีคุณสมบัติทางการแพทย์ และถูกนำมาต่อยอด พัฒนาโดย เภสัชกรอัครวิชญ์ วินิจเขตคำนวณ ซึ่งได้นำน้ำมันว่านสกัดพืชสมุนไพรล้านนากว่า 12 ชนิด ซึ่งมีสรรคุณช่วยบรรเทาอาการปวด อักเสบ และอาการแพ้มาผสมผสานออกมาเป็นครีมนวดผสมสารสกัดเม็ดลำไย หรือครีมลองกานอยด์ (Longanoid) ซึ่งนอกจากจะใช้ในผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมเนื่องจากรูมาตอยด์ โรคเกาต์ อาการปวด
เมื่อยกล้ามเนื้อจากการทำงานหนักและออฟฟิศซินโดรมได้อีกด้วย

อาการปวดข้อจึงไม่ใช่เรื่องเกินรับมืออีกต่อไป