โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of Knee)

เข่าเสื่อม
ภาพประกอบจาก topnews.in

โรคข้อเข่าเสื่อม หรือ Osteoarthritis of Knee

คือโรคที่เกิดจากความเสื่อมในข้อ ตําแหน่งที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในโรคนี้คือที่กระดูกอ่อนผิวข้อ (articular cartilage) ในข้อชนิดที่มีเยื่อบุ (diarthrodial joint) โดยจะพบมีการทําลายกระดูกอ่อนผิวข้อเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ เป็นไปอย่างต่อเนื่องมากขึ้นตามเวลาที่ผ่านไป กระดูกอ่อนผิวข้อมีการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ชีวเคมี (biochemical) ชีวกลศาสตร์ (biomechanical) และโครงสร้าง (biomorphology) ส่วนกระดูกในบริเวณใกล้เคียงก็มีการเปลี่ยนแปลงด้วย เช่น ขอบของกระดูกในข้อ (subchondral bone) มีการหนาตัวขึ้น โรคนี้ส่วนใหญ่พบในสูงอายุ มีลักษณะทางคลินิกที่สําคัญคือ ปวดข้อ ข้อฝืด มีป่มกระดูกงอกบริเวณข้อ การทํางานของข้อเสียไป การเคลื่อนไหวของข้อลดลง หากกระบวนการดําเนินต่อไปจะมีผลทําให้เกิดข้อผิดรูปและความพิการในที่สุด

อาการทางคลินิกที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยโรคข้อเข่าเสื่อม

  • อาการปวด มีลักษณะปวดตื้อ ๆ ทั่ว ๆ ไปบริเวณข้อ ไม่สามารถระบุตําแหน่งชัดเจนได้และมักปวดเรื้อรัง อาการปวดจะมากขึ้นเมื่อมีการใช้งาน หรือลงนํ้าหนักลงบนข้อนั้น ๆ และจะทุเลาลงเมื่อพักการใช้งาน เมื่อการดําเนินโรครุนแรงขึ้นอาจทําให้มีอาการปวดตลอดเวลา หรือปวดในช่วงเวลากลางคืนร่วมด้วย
  • ข้อฝืด (stiffness) พบได้บ่อย จะมีการฝืดของข้อในช่วงเช้าและหลังจากพักข้อนาน ๆ แต่มักไม่เกิน 30 นาทีอาจพบอาการฝืดที่เกิดขึ้นชั่วคราวในท่างอหรือเหยียดข้อในช่วงแรกที่เรียกว่า ปรากฏการณ์ข้อฝืด (gelling phenomenon)
  • ข้อบวมและผิดรูป (swelling and deformity) อาจพบข้อขาโก่ง (bowlegs) หรือข้อเข่าฉิ่ง (Knock knee) ข้อที่บวมเป็นการบวมจากกระดูกงอกโปนบริเวณข้อ สญเสีย การเคลื่อนไหวและการทํางาน ผู้ป่วยมีอาการเดินไม่สะดวก มีเสียงดังกรอบแกรบ (crepitus) ในข้อเข่าขณะเคลื่อนไหว

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. ความผิดปกติทางพันธุกรรมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
  2. น้ำหนักตัวที่มากเกินไป ทำให้เข่ารับน้ำหนักมากขึ้น
  3. อายุที่มากขึ้นทำให้ความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองของผิวข้อกระดูกอ่อนลดลง ทำให้เกิดโรคข้อเข่าเสื่อมง่ายขึ้น
  4. เพศหญิง ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มีโอกาสที่จะเกิดข้อเข่าเสื่อมมากกว่าเพศชาย
  5. มีประวัติเคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณข้อเข่ามาก่อน รวมถึงได้รับบาดเจ็บการการเล่นกีฬา เช่น หมอน รองกระดูกเข่าฉีกขาด
  6. เล่นกีฬาที่มีแรงกระทบต่อเข่ามากๆ เช่น ฟุตบอล, เทนนิส, วิ่งมาราธอน

วิธีรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม

  1. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้ป่วย เช่นการลดน้ำหนัก ใช้เครื่องพยุงเข่า หลีกเลี่ยงการยกของหนัก หลีกเลี่ยงการนั่งพับเพียบและนั่งท่าขัดสมาธิ
  2. การใช้ยา เช่นยาลดปวด และลดการอักเสบภายในข้อเข่า, ยากลูโคซามีน เพื่อเสริมสร้างกระดูกอ่อน ยับยั้งหรือลดกระบวนการทำลายข้อ (ควรอยู่ในการควบคุมและดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด)
  3. การบริหารเข่าโดยนักกายภาพบำบัด
  4. การฉีดยาเข้าข้อเข่า เช่นสารน้ำหล่อเลี้ยง, ยาสเตียรอยด์ อย่างไรก็ตามการใช้ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง ซึ่งจะส่งผลเสียต่อกระดูกอ่อนของผิวข้อโดยตรง
  5. การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม หรือการผ่าตัดด้วยการส่องกล้องล้างข้อเข่า ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

ขอขอบคุณข้อมูลจากสมาคมรูมาติสซั่มแห่งประเทศไทย